D-dek1 หนังสือปี2560ดาวโหลดที่นี่
การดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กในปี ๒๕๖๐ ได้ดำเนินงานเพื่อป้องกัน คุ้มครอง พัฒนาเด็กในสภาวะยากลำบาก ผ่านโครงการต่างๆ จำนวนกว่า ๒๑ โครงการ ๖๒ พื้นที่ ๑๘ จังหวัด โดยมุ่งเน้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กดังนี้
–สิทธิสวัสดิการด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษา และส่งเสริมสิทธิทางการศึกษา
– สวัสดิการด้านสุขภาพ ได้แก่ การสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารทุกมื้อ ส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และเข้าถึงบริการความรู้ด้านสุขภาพ สุขอนามัยกับกลุ่มเด็กต่างชาติและเด็กกลุ่มเสี่ยง
– การพัฒนาอย่างรอบด้าน สนับสนุนให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ สร้างพื้นที่สุขภาวะ
– สร้างกลไกชุมชนปกป้องเด็ก ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแกนนำ ชุมชน ให้สามารถจัดการตนเอง มีทักษะในการดูแลเด็กๆ ในชุมชน การป้องกันปัญหาต่างๆ
–พัฒนานวัตกรรมและเครื่องมือใหม่ๆ สร้างนักสื่อสารชุมชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเท่าทันภาวะวิกฤติสังคม
– ป้องกันปัญหา ส่งเสริมกระบวนการทักษะชีวิตในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระบบและนอกระบบ
–ผลักดันและพัฒนากลไก การมีส่วนร่วมผลักดันกฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
จากการดำเนินงานมี จำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับประโยชน์ แบ่งเป็น
ด้านการปกป้องคุ้มครองเด็ก จำนวน ๔,๖๑๐ คน
ด้านการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมสำหรับเด็ก จำนวน ๒๑,๔๙๓ คน
ผลสำเร็จของการดำเนินงานในปี ๒๕๖๐
๑. เด็กในสภาวะยากลำบากต้องการความช่วยเหลือ
– เด็กที่อยู่ที่ในสภาวะยากลำบากและสภาวะวิกฤติได้รับการช่วยเหลือและคุ้มครอง ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม ได้รับประทานอาหารครบทั้ง ๓ มื้อ ในปริมาณที่เพียงพอ รวมทั้งอาหารที่รับประทานมีความปลอดภัย
๒.แรงงานเด็ก เด็กต่างชาติ
– เด็กต่างชาติและเด็กกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และเข้าถึงบริการความรู้ด้านสุขภาพ สุขอนามัย ผู้ปกครองและสมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมโครงการและดูแลบุตรหลานให้ได้เข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓. เด็กในภาวะวิกฤตใน ๓ จังหวัดภาคใต้
– มีส่วนร่วมในการสร้างกลไกชุมชนปกป้องเด็ก สามารถทำโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาพื้นที่ มีฐานสมาชิกธนาคารใจอาสาจาก ๔ มหาวิทยาลัย ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเป็นแกนนำขับเคลื่อนงานกลไกชุมชนปกป้องเด็กในพื้นที่
– เด็กที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่ได้รับการให้ความช่วยเหลืออุปกรณ์การเรียน และเครื่องใช้ที่จำเป็น
๔.เด็กชุมชนแออัดเมือง สามารถเผยแพร่การทำงานต้นแบบ และเริ่มมีกลุ่มแกนนำเด็กเล็ก ที่ถ่ายทอดกระบวนการที่พัฒนาสร้างคุณค่าในตัวเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของสังคม
๕.การพัฒนาเด็กเยาวชนในชุมชนชนบท กลุ่มเยาวชนนักศึกษาในภาคอีสาน ผลักดันโครงการให้เป็นการทำงานในราชวิชา และนำแนวคิดกระบวนการสื่อสร้างสรรค์ไปทำงานขยายผลกับโรงเรียน
๖. เครือข่าย องค์กร ชุมชน
– ผู้บริหารโรงเรียน และคุณครู ที่เข้าร่วมโครงการ มีแนวคิดและทักษะในเรื่องการดูแลและพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมต่างๆที่หลากหลายมากขึ้น
– พื้นที่เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการนำแนวทางเรื่องกลไกชุมชนปกป้องเด็กไปใช้
– เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัย ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนใต้ และภาคอีสาน
– แกนนำชุมชน เข้าร่วมเป็นแกนนำขับเคลื่อนงานกลไกชุมชนปกป้องเด็กในพื้นที่
– เกิดเครือข่ายองค์กรทำงานด้านเด็กเยาวชนในพื้นที่๓จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Safety Net)
– เกิดการขยายพื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่การทำงานใหม่โดยชุมชน
– เกิดเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม ด้านศิลปะเพื่อการพัฒนาชุมชน
๗. เกิดพื้นที่ต้นแบบพื้นที่เรียนรู้/ เผยแพร่งานนวัตกรรม
– เกิดพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน และโรงเรียนในพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สามจังหวัดชายแดนใต้ และแม่ฮ่องสอน
– เผยแพร่งานสัมมนานานาชาติ “สิทธิการเล่นของเด็กในภาวะวิกฤติ” International Seminar on Access to Play in Crisis โดย นักวิจัยจาก ๖ ประเทศ ซึ่งงานวิจัยของมูลนิธิเป็นตัวแทนของประเทศไทย
๘. เกิดภาคีเครือข่ายผู้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน
-เทใจดอทคอม – ปลุกพลังเปลี่ยนไทย
– Food 4 Good – Hand Up
– มูลนิธิยุวรักษ์ – ธนาคารจิตอาสา
๙. การขับเคลื่อนกฎหมายนโยบายด้านเด็กและเยาวชน
มูลนิธิฯได้เข้าร่วมขับเคลื่อนกลไกการคุ้มครองและพัฒนาเด็กเยาวชนที่สำคัญหลายระดับได้แก่
– ขับเคลื่อนพัฒนานโยบายสาธารณะเรื่องการพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
– ร่วม
– ขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กปฐมวัยในคณะกรรมการเด็กปฐมวัยจังหวัดสมุทรปราการ
– ขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนาเด็ก เยาวชน ใน คณะกรรมการจัดงานสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชน