เปิดรายงานผลกระทบแม่และเด็กช่วงโควิด-19 เครียด ตกงาน ในครอบครัว

https://www.youtube.com/watch?v=DXfUM0koU6U&feature=youtu.be

https://drive.google.com/file/d/1lTBCxBOVc_X8Fx9SKVr67AGKJj87deBZ/view

https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.isranews.org%2Farticle%2Fisranews-news%2F90514-womanissue.html%3Ffbclid%3DIwAR37pCW1c50NjhjeOQepaK6UubXoD8Qw_-D1aZcuY4cVbyUtF6w6OGuHDWM&h=AT3xv79DqVRFteRQr-Zbmmwp4jFw5JmPSzZGP2UnXZdgh8scTIaEJWuBOW4T8b-z-LZHMV2TAVitGefksvQDdAJn9-qmQZW3TU_PoP_9CVfP2oh4pY4sL-9dfZ5TjH1kOeXWAn4k2azRc6Eb4VE

เปิดรายงาน “ชีวิต ผู้หญิง  แม่และเด็ก ตกงาน อดอยากและความรุนแรง”ในช่วงวิกฤตโควิด ๑๙

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ นายเชษฐา มั่นคง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดรายงานข้อมูลฉบับนี้จัดทำขึ้นจากการทำงานเชิงรุกของ“ภาคีเครือข่ายความร่วมมือแบ่งปันสุขให้แม่และเด็ก ปลอดภัย จากโควิด ๑๙” ที่ได้ร่วมมือทำกิจกรรม มอบถุงยังชีพ  ช่วยเหลือ แม่และเด็กกลุ่มเปราะบางยากลำบาก ให้เข้าถึงเช่น หน้ากากอนามัย  เจลทำความสะอาด นม อาหารที่จำเป็น และได้เห็นถึงข้อจำกัด ในการเข้าถึงมาตรการเยียวยาของรัฐ และข้อจำกัดในศักยภาพของตัวผู้หญิงและครอบครัว ที่มีไม่แตกต่างกัน  เครือข่ายฯ จึงได้มีการสังเคราะห์ฐานข้อมูลของกลุ่มแม่และเด็กที่เข้ามารับการช่วยเหลือ เพื่อเป็นข้อเสนอเร่งด่วน และข้อเสนอเชิงนโยบายในการออกแบบวางแผนรองรับในภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โควิด ๑๙ หรือภัยพิบัติอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ภาพรวม ตัวเลขการว่างงานและตกงานในระบบ

จากข้อมูลรวม ของ สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลกระทบจากโควิด ๑๙

มีลูกจ้างเสี่ยงถูกเลิกจ้าง ๘.๔ ล้านคน ว่างงาน ๔ แสนคน และเด็กที่จบการศึกษาใหม่ไม่มีงานทำ ๕๒๗,๐๐๐ คน ขณะที่ตัวเลขจากสำนักงานประกันสังคม มีผู้มาขึ้นทะเบียนการว่างงาน ๓๓๐,๒๖๐ คน และยังมีกลุ่มเสี่ยงจะตกงานจำนวนประมาณการ ๓ กลุ่ม

๑) กลุ่มแรงานภาคการท่องเที่ยวจำนวน ๒.๕ ล้านคน

๒) กลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรมเสี่ยงว่างงานจำนวน ๑.๕ ล้านคน

๓) กลุ่มแรงงานภาคบริการที่ไม่ใช่ท่องเที่ยวเสี่ยงว่างงานจำนวน ๔.๔ ล้านคน

ประเภทกิจการเลิกจ้าง

  • การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และอิเล็คโทรนิกส์
  • กลุ่มกิจการ ขายส่งและขายปลีก ของใช้ส่วนบุคลของใช้ในครัวเรือน ขายเสื้อผ้า
  • กลุ่มงานด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการด้านธุรกิจ
  • กลุ่มงานประเภทในภาคบริการ เช่น ลูกจ้างในร้านอาหาร สถานบันเทิง ผับ บาร์ (ไม่ได้อยู่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน)

สาเหตุการเลิกจ้าง นายจ้างอ้าง คือการขาดทุนสะสม และการไม่มีออเดอร์และจากการแพร่ระบาดโควิด ๑๙ การปิดกิจการ

ผลกระทบต่อแรงงานหญิงทั้งในและนอกระบบ

นอกระบบ / ช่างเสริมสวย หมอนวด หาบเร่ แผงลอย รับงานไปทำที่บ้านอาชีพขนส่งสาธารณะ ขับแท็กซี่ หยุดงาน ตกงานทันที  ในระบบ / นายจ้าง ปิดงาน เลิกจ้าง แบบไม่แจ้งล่วงหน้า / และบังคับให้ลาออก เช่นสมัครใจลาออก /มีนัยยะ ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิประโยชน์ การว่างงานจากประกันสังคม อีกทั้ง ภาพลักษณ์ของนายจ้างก็ดูดี เพราะไม่มีประวัติ ไล่ลูกจ้างออก หรือบางกรณี ถูกลดวันทำงาน ปิดงานชั่วคราวถูกลดเงินเดือน หรือค่าจ้างรายวันเข้าไม่ถึงเงินเยียวยาในมาตรการของรัฐ  / แรงงานหญิงตั้งครรภ์ ได้รับผลกระทบ นายจ้างถือโอกาส ให้สมัครใจลาออกหรือให้สิทธิลาคลอดและให้หยุดยาว/แรงงานหญิง ต้องแบกรับภาระต่อเนื่อง เมื่อศูนย์เด็กเล็กถูกปิด ต้องรับภาระที่อยู่อาศัยค่าเช่าห้อง

 กรณีแรงงานข้ามชาติ

ข้อมูลแรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน ณ วันที่ ๒๕ มิ.ย ๖๓
แรงงานข้ามชาติจำนวน ๒.๔ ล้านคน เป็น ประเภทแรงงานทั่วไป(นักลงทุน งานฝีมือ ชำนาญการ) ๑.๑แสนคน
@ เข้า มาแบบ BOI จำนวน ๔.๔ แสนคน
@ แรงงานที่พิสูจน์สัญชาติเดิมจำนวน ๓,๐๒๙ คน
@ แรงงาน ที่ได้รับใบอนุญาตแล้วจำนวน ๙.๙แสนคน
@ แรงงานที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติครม.๒๐ ส.ค.๖๒ จำนวน ๑.๒ ล้านคน
@ ได้รับใบอนุญาตและทำงานแล้วจำนวน ๗.๑ แสนคน
@ แรงงานรอดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานจำนวน ๕.๕ แสนคน

 จากการสังเคราะห์ข้อมูล โควิด-๑๙  ผลกระทบต่อผู้หญิง แม่และเด็ก และความรุนแรง เมษายน –  กรกฎาคม ๒๕๖๓  ของภาคีเครือข่ายความร่วมมือ แบ่งปันสุขให้แม่และเด็กปลอดภัยจาก โควิด ๑๙  พบข้อมูล

 ๑) ผู้หญิง แม่และเด็ก ขอรับถุงยังชี ผ่านมายังภาคีเครือข่าย จำนวน  ๕,๒๘๙    ครอบครัว

 ๒) ประเภทเขียนข้อความเข้ามา กล่องข้อความ หน้าเพจ fb องค์กรภาคี ส่งภาพ ครอบครัว /บัตรประชาชน ใบเกิดลูก / และต้องการการช่วยเหลือเร่งด่วน

๑. นมผงเด็กเล็ก  เอส ๒๖  นมคาร์เนชัน  ดูโปร   ดูแม็กช์

๒. นมยูเอสที  วัวแดงไทยเดนมารก์   หนองโพ  โฟส์โมส

๓. แพมเพิสเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ หน้ากาก เจลล้างมือ เสื้อผ้าเด็กแรกคลอด

๔.  ข้าวสาร อาหารแห้ง ไข่  มาม่า  ปลากระป๋อง ขนมเด็ก

๕. ขอเงิน ไปใช้หนี้นอกระบบ ค้างค่าเช่า ค่าผ่อนรถ  ค่าน้ำ ค่าไฟ

๖. ตกงานว่างงาน ต้องการทำงาน

 ๓)ประเภทของกลุ่มผู้หญิงและครอบครัวที่ขอความช่วยเหลือ  ดังนี้

๑. เป็นกลุ่มแม่แบบครอบครัวเดี่ยว ร้อยละ ๖๗ %  พ่อแม่ลูก ตกงาน (ตกงานทั้งคู่ สามีภรรยา / ภรรยา หรือ สามี ตกงาน มีงานทำเป็นช่วงๆ)

๒. เป็นกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว ร้อยละ ๓๓% เลี้ยงลูกตามลำพัง ถั่วเฉลี่ยลูก ๒-๓ คน (เลี้ยงเอง / ให้ตายาย ปู่ย่า ช่วยเลี้ยง เพราะมีครอบครัวใหม่) ในพื้นที่ชุมชนแออัด หรือ สามจังหวัดชายแดนใต้ ๓-๕ คน

๔) ลักษณะของงานที่ทำ

  • อาชีพอิสระ ๗๕ % ค้าขายอิสระในตลาดและตามสถานีรถไฟ /อิสระออนไลน์ / หาบเร่แผงลอย ขายของตลาดนัด รับจ้างรายวัน แล้วแต่จะมีใครจ้าง ล้างจาน ทำความสะอาด  งานขนของ แบกของ งานก่อสร้าง ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง รับจ้างในภาคเกษตร ส่วนมากมีรายได้ แบบรายวัน หาเช้ากินค่ำ  การประกาศ lockdown มีผล ทำให้ อาชีพอิสระ เหล่านี้ ตกงานทันที  /สามีตกงาน ตกงานทั้งคู่ รายได้เฉลี่ยไม่แน่นอน  วันละ ๑๐๐ -๓๐๐ บาทขึ้นอยู่กับลักษณะงาน
  • ทำงาน ในสถานประกอบการลูกจ้างในธุรกิจเอกชน  ๑๗%  (โรงงานอิเลคโทนิค ทอผ้า  ทำเกษตร)
  • ทำงานเป็นพนักงานในสถานบริการบันเทิง ( สาวเชียรเบียร์ เอ็นเตอร์เทนแขก อาบอบนวด )   ๘ %

๕) ความสัมพันธ์ในครอบครัว  

อันดับแรก ร้อยละ ๘๑ % มีความเครียดสะสม ทะเลาะ กับสามี สามีทุบตีทำร้าย

อันดับสอง ร้อยละ ๑๑ % สามีช่วยเลี้ยงลูก ทำงานบ้าน และพยายามหางานรับจ้างทำ

และอันดับสาม ร้อยละ ๘% สามีไม่รับผิดชอบ อยู่เฉย เป็นหน้าที่ภรรยาทำหน้าที่เลี้ยงลูก ทำงานบ้าน

๑) เครียด เพราะ รายได้ลดลง และมีรายได้แบบรายวัน ไม่ทันได้ตั้งตัว ทำให้มีการทะเลาะกันในครอบครัว เครียดสะสม ๗๙ % และถึงขั้นทำร้ายทุบตีทำร้าย ๑,๕๒๓ ครอบครัว ๘๐% ยอมทนเพราะไปไหนไม่ได้ และ ๑% หนี ไปอยู่กับเพื่อน ครอบครัว

๒) เครียด เพราะ ต้องดูแลลูก แบบ ๒๔ ชั่วโมงอยู่กันในห้องเช่าแคบๆ เวลาลูกร้อง ขออาหาร ขอขนม ไม่มีให้ลูก ต้องแอบร้องไห้ ไม่รู้จะทำอย่างไร สงสารลูก ต้องไปหยิบยืม กู้เงินนอกระบบ

  • เครียดเพราะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว แบกภาระ ตามลำพัง เมื่อต้องดูลูกหลายคนอยู่ที่บ้าน ทำให้ทำงาน ไม่ได้เต็มที่ รายได้ไม่พอ ต้องคอยมองหา ของบริจาค เพราะไม่มีงาน ว่างงานไม่มีใครจ้าง ทุกกิจการปิด  ๕% อยากฆ่าตัวตาย เพราะทนเห็นลูกร้องให้ เพราะหิว ไม่มีอาหารที่มีคุณภาพเพียงพอให้ลูก

๖) การเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐ

๖.๑ การลงทะเบียนรับสิทธิเงินเยียวยา

อันดับ๑ ลงทะเบียนแต่ไม่ได้รับสิทธิ

อันดับ ๒ ไม่ได้ลงทะเบียนรับสิทธิเพราะ ไม่รู้เรื่องสิทธิ ลงไม่ทัน ไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน

อันดับ ๓ ลงทะเบียนได้รับสิทธิในเงินเยียวยาของรัฐ

๖.๒ ปัญหาที่พบ ข้อจำกัด

– ใช้ระบบออนไลน์ไม่เป็น                  – อยู่พื้นที่ห่างไกลไม่สะดวกเดินทาง

– มือถือไม่มีอินเตอร์เน็ต                   – ไม่มีสมุดบัญชีและไม่มีเงินไปเปิดสมุดบัญชี

๗) โดยภาพรวม ผลกระทบต่อ ผู้หญิง  แม่ เด็ก และครอบครัว 

  • ภาวะว่างงานเนื่องจากรัฐบาลสั่งปิดสถานประกอบการเพราะสถานการณ์โควิด ทำไห้ไม่มีรายได้
  • รายได้ลดลงเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่ออกจากบ้านทำให้ค้าขาย หรือทำธุรกิจยาก
  • ตกงานเนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่มีเงินใช้จ่ายซื้อนม ของใช้และอาหารในครัวเรือน
  • เป็นประชาชน ผู้หญิงและเด็กที่ไม่ได้ทำงานอยู่แล้ว แต่พอมีสถานการณ์โควิดทำให้ครอบครัวลำบากกว่าเดิม
  • ว่างงานกลับประเทศไม่ได้เพราะมีการปิดด่าน ปิดช่องทางการบิน ทำให้ไม่มีเงินจ่ายค่าห้องและกินใช้ ในกลุ่ม แรงงานหญิงไทยทำงานในต่างประเทศ หรือ แรงงานข้ามชาติหญิงทำงานในประเทศไทย  (พม่า กัมพูชา ลาว )
  • สถานการณ์ที่ยากลำบาก ของ พ่อแม่ ส่งผลให้ เด็กได้อาหารไม่เพียงพอ ขาดสารอาหาร /ขาดนันทนาการ ไม่ได้เล่นตามวัย / เรียนออนไลน์ มีปัญหา ต่อชีวิตพ่อแม่ ต้องมาคอยดูแลควบคุมลูกให้เรียน พ่อแม่เครียด ทะเลาะกัน ทุบตีทำร้ายในครอบครัว กลายเป็นความเครียดสะสม

 มาตรการ เร่งด่วน 

จัดทำถุงยังชีพชุดครอบครัว ชุดแม่และเด็ก ชุดผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียงโดยความร่วมมือของรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้ถุงยังชีพ มีการกระจายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม /

ข้อเสนอเชิงนโยบาย

มาตรการ สืบเนื่องเพื่อช่วยให้แม่และเด็กกลุ่มเปราะบางอยู่รอด ปลอดภัยได้รับอาหารที่มีคุณภาพ    

๑) ควรมีจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน หรือจากเงินกู้เพื่อการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อจัดสรรเป็น กองทุนแม่และเด็กในสถานการณ์โรคระบาดภัยพิบัติ โดยมีหน่วยภาคงานรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนต้องเป็นสัดส่วนที่สมดุล เข้าเป็นคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ กลุ่มแม่ครอบครัวที่เปราะบางที่เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือ การจัดสรรหรือถึงแม้ได้รับเงินเยียวยา แต่ไม่มากพอที่จะดูแลลูกได้เพียงพอ  โดยเฉพาะ กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่มีลูกหลายคน ต้องดูแล กลุ่มพิเศษ หรือ กลุ่มที่ตกหล่น

 ๒)  แผนฟื้นฟูสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน /จังหวัด ให้มีแผนรองรับ การจ้างงาน กลุ่ม ผู้หญิง กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวและพิจารณาดูความเหมาะสมในลักษณะงานที่สอดคล้องกับภาวะที่ต้องทำงานพร้อมการเลี้ยงลูก เพราะในสถานการณ์แพร่ระบาด ศูนย์เด็กเล็ก ต้องปิดบริการ แม่แม่ต้อง เลี้ยงลูกเอง หรือ ผู้หญิงเป็นกลุ่มประชากรแฝงมาแต่งงานหรือทำงานในพื้นที่อื่น ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าถึง การบริการในทุกด้าน

๓) ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง แม่และเด็ก เช่นความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว พบว่าในช่วงต้อง Lockdown มีการทำร้ายกันในครอบครัวสูงเท่าตัว จากความเครียดไม่มีรายได้ / ต้องอยู่ร่วมกัน ๒๔ ชม./ ต้องเลี้ยงลูกหลายคนในเวลาเดียวกัน หรือต้องดูแล คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุเวลาเดียวกัน  / ในสถานการณ์วิกฤตของภาวะแพร่ระบาด กลไกของรัฐต้องมีการตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเชิงรุก เฉพาะกิจเร่งด่วน   ดังนี้

๑.ต้องมีการคุ้มครองเด็กสตรีกรณีถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวละเมิดทางเพศ และจะต้องคุ้มครองได้แบบ ๒๔ ช.ม  /

๒. จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการครอบครัว เพื่อลดความเครียดระหว่างสามีภรรยา มีการส่งเสริมการเล่น การเรียนรู้   ที่เหมาะสมตามวัย พัฒนาของเด็ก  การดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง เป็นกรณีพิเศษ

๔)  ควรมีการจัดเก็บภาษี  คืนกำไรให้แม่ เด็กและ ครอบครัว จากภาคธุรกิจเอกชน เพื่อรองรับ การช่วยเหลือ แม่ เด็ก กลุ่มเปราะบางใน สถานการณ์ฉุกเฉิน จากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ภัยพิบัติอื่นๆ เพื่อจัดทำถุงยังชีพ การอบรมอาชีพ การให้อุปกรณ์สำหรับการประกอบอาชีพ เงินลงทุน รวมถึง ความร่วมมือเพื่อให้ผู้หญิงและครอบครัวที่ยากลำบาก ที่ผ่านการฝึกอาชีพแล้วมีงานทำด้วย

๕) ควรมีมาตรการการช่วยเหลือหญิงไทยในต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด เพื่อให้สามารถเดินทางกลับประเทศหรือการมีงานทำ เนื่องจากมีหญิงไทยในต่างประเทศบางส่วนนั้น สถานประกอบการปิด ตกงานไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน รวมถึงรายได้ในการใช้ชีวิต และมีความเสี่ยงในการเข้าไม่ถึงในการรักษาสุขภาพในต่างประเทศ

๖) ขอให้รัฐบาล กระทรวงแรงงาน ได้ให้แรงงานข้ามชาติ ที่อยู่ในช่วงรอต่อใบอนุญาตทำงาน สามารถซื้อบัตรสุขภาพแรงงานข้ามชาติได้ทุกโรงพยาบาลของรัฐและสำนักงานประกันสังคม ต้องเร่งตรวจสอบเอาผิด นายจ้างที่หักเงินสมทบส่วนลูกจ้างไปแล้วไม่นำส่งสำนักงานประกันสังคมเนื่องเพราะจะทำให้แรงงานเมื่อประสบปัญหาด้านสุขภาพแล้วไม่สามารถเข้ารักษาได้และไม่อาจได้รับการคุ้มครองในสิทธิประโยชน์อื่นในประกันสังคมเป็นต้น

๗) กรณี แม่ลูกแรงงานข้ามชาติ เข้าถึงสุขภาพ แรงงานสามารถทำการซื้อบัตรสุขภาพได้โดยไม่ต้องรอต่อการขึ้นทะเบียนแรงงาน   และควรมีการสื่อสาร ช่วยเหลือหญิงมีครรภ์  สถานพยาบาลต้องให้บริการตามสิทธิไม่กดดันให้ทำหมัน หรือคิดเงินเพิ่ม เพราะเป็นแรงงานข้ามชาติ

– ในการกักขังแรงงานก่อนส่งกลับให้มีมาตรการณ์ป้องกันโคหวิด-๑๙ ในสถานกักกัน อันรวมถึงการให้อุปกรณ์ป้องกัน การมีพื้นที่ห่างกัน และ การตรวจหาไวรัส และรักษาอย่างเหมาะสม โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

– ให้มีขั้นตอนการสื่อสารแรงงานข้ามชาติ ได้รับข้อมูลชัดเจนในสิทธิ์ในการป้องกัน และตรวจ รักษา โคหวิด ๑๙  อันรวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอย่างเพียงพอ

๘) รายได้ที่ลดลงเพราะนายจ้างลดเวลาทำงาน  นายจ้างและรัฐควรช่วยเหลือแม่ลูกอ่อน ที่ไม่มีเงินซื้อนม รวมทั้งผู้หญิงที่มีลูกไปโรงเรียนไม่ได้ โรงเรียนปิด กลับบ้านประเทศตัวเองไม่ได้

๙) รัฐบาลต้อง จัดทำฐานข้อมูลแรงงานหญิงทั่วประเทศ เพื่อสามารถ คุ้มครองสิทธิ พัฒนาความร่วมมือ กับนายจ้างเพื่อไม่ให้ ถูกนายจ้างเอาเปรียบ หรือบางกรณีต้องใช้กฎหมายบังคับนายจ้างไม่ให้ถือโอกาสเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรม