นายเชษฐา มั่นคง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเครือข่ายภาคีสร้างสุขภาวะเด็ก มอบ ๑๒ ข้อเสนอป้องกันแก้ไขปัญหาละเมิดเด็ก ต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับข้อเสนอ
มีดังนี้
๑. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่าง
ยั่งยืน ขอให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๔
๑.๑ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องประกาศตนเป็นพื้นที่ปลอดพฤติกรรมรุนแรงต่อเด็ก ด้วยกาย วาจา อารมณ์และแสดงมาตรการในการดำเนินงานให้สอดคล้อง ตลอดจนกำหนดแนวทางติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
๑.๒ กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีโดยให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และครู จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่สำคัญจำเป็นต(อการเป็นผู้กำหนดทิศทางการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นพื้นที่สร้างสรรคDและปลอดภัย เช่น Executive Functions , วินัยเชิงบวก และจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก
๑.๓ กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีด.านความรับผิดชอบในความปลอดภัยทั้งทางกายและใจรวมถึงสิทธิของเด็ก โดยจะต้องรวมอยู่ในกระบวนการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและหากขาดความรับผิดชอบจะต้องมีผลต่อการเป็นผู้รับใบอนุญาต
๑.๔ ส่งเสริมให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และมีผู้รับผิดชอบติดตามภายในเวลาที่กำหนด โดยครอบคลุมถึงช่องทางร้องทุกข์ทางดิจิทัลเพื่อให้ผู้ถูกละเมิดเข้าถึงความช่วยเหลือทันท่วงที
๑.๕ ส่งเสริมให.มีระบบฐานข.อมูลเพื่อตรวจสอบประวัติของบุคลากรทางการศึกษาและผู.เกี่ยวข.องทุกระดับ และเปิดสิทธิให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถสืบค้นตรวจสอบได้
๒) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย แก้ไข
ปัญหาพัฒนาการล่าช้าที่สะสมมากว่าทศวรรษ ขอให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็ก
ปฐมวัยโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๔
๒.๑ จัดทำนโยบายระดับชาติด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สอดคล.องกับพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก คำนึงถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และยึดหลักการการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย คือการรักษาความเป็นธรรมชาติของเด็กไว้ และเปิดโอกาสให้จิตวิญญาณ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา พัฒนาไปพร้อมกันอย่างสมดุลและเหมาะสมตามวัย ไม่ใช่การสอนเพื่อเร่งเรียนเขียนอ่าน พิจารณาตัดคำว่า “โรงเรียน”ออกจากอนุบาลเพราะสร้างความเข้าใจผิดว่าเด็กต้องอ่านออกเขียนได้ควรใช้คำว่า “อนุบาล” ซึ่งราชบัณฑิตยสภาให้ความหมายว่า “ตามเลี้ยงดู ตามระวังรักษา”
๒.๒ ยกเลิกการสอบแข่งขันเข้าชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และการทดสอบการอ่าน (Reading Test) โดยทันที เพื่อปลดล็อกการเร่งเรียนเขียนอ่านในเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมุฏฐานของความรุนแรงในห้องอนุบาลด้วย ควรมุ่งเน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ เน้นเรียนรู้ผ่านการเล่นอิสระ
๒.๓ กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์จอใสและสื่อออนไลน์เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพื่อให้พ่อแม่ ครู ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และสามารถป้องกันปัญหาการเสพติดสื่อจอใสอย่างได้ผล
๒.๔ ส่งเสริมหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มุ่งให้เด็กเป็นผู้ขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครู ผู้ดูแลเด็ก พ่อแม่และชุมชนเป็นผู้สนับสนุน มุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นอิสระ การอบรมเลี้ยงดูด้วยวินัยเชิงบวก และการส่งเสริมทักษะสมอง
๒.๕ ส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและครูอาจารย์ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคม (Social and emotional learning – SEL) และนำไปใช้อย่างจริงจังในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
๒.๖ ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการพัฒนาเด็กปฐมวัยร่วมกับครู
อาจารย์ และกำหนดให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีหน้าที่ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กอย่างถูกต้องแก่ผู้ปกครองเพื่อทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
๒.๗ สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นจัดพื้นที่เรียนรู้ผ่านการเล่นอิสระและสร้างสรรค์ สำหรับเด็กและครอบครัว ได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมทั้งพัฒนาการ ความสุข และ สัมพันธภาพในครอบครัว
เครือข่ายภาคีสร้างสุขภาวะเด็ก ตระหนักถึงความสำคัญของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในฐานะของกลไกนโยบายระดับชาติที่มุ่งคุ้มครอง ดูแล ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยในฐานะที่เป็นช่วงวัยแห่งโอกาสทองของการสร้างทุนทรัพยากรมนุษย์ โดยมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมประสานทุกภาคส่วนและทุกระดับให้ร่วมขับเคลื่อนการปฏิบัติการไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งกำกับให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่สืบเนื่องมายาวนาน รวมถึงวิกฤตใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
และวางรากฐานใหม่ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มั่นคง เข้มแข็ง ตอบโจทย์การสร้างพลเมืองคุณภาพของประเทศในอนาคต ในการนี้ เครือข่ายภาคีสร้างสุขภาวะเด็กมีเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือ และช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายฯ สู่ความสำเร็จในการสร้างคุณภาพเด็กปฐมวัยในสังคมไทยได้อย่างแท้จริง
นายเชษฐา มั่นคง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวว่า “ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น จะต้องเน้นการดูแล การพัฒนาและการจัดการเรียนรู้ และต้องทำตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เพื่อให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงและสมองพัฒนาเต็มที่ ส่วนที่บ้าน ครอบครัว และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จะต้องเป็นพื้นที่ ที่ปลอดภัยสำหรับเล็กหรือเด็กปฐมวัย เป็นอันดับต้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ที่มีบทบาทส่วนเกี่ยวข้อง จะทำอย่างไรให้คนที่ดูแลเด็กปฐมวัย ได้เกิดความตระหนักรู้ในด้านการพัฒนาเด็กที่มุ่งให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เพียงแต่พ่อแม่ ครู และผู้ดูแลเด็ก ทำความเข้าใจเป็นเพียงผู้สนับสนุน หรือมุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างอิสระ และเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำรอยอย่างเหตุการณ์ที่เป็นข่าวในปัจจุบันนี้การพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น ไม่ได้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เป็นผู้ที่ดูแลโดยเฉพาะ จะต้องมีหลายๆหน่วยงานมาช่วยกันดูแล มาบูรณาการร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การกำหนดทิศทางในการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ชัดเจนมากขึ้น สุดท้ายนี้เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถทำงานขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่และมีคุณภาพจึงจำเป็นต้องมี “หน่วยงานหรือสำนักงาน”ของตนเอง ในการเคลื่อนงานเป็นการเฉพาะในการพัฒนาเด็กปฐมวัย” เชษฐา กล่าว